ชี้ 2 ช่องโหว่โรงงานรีไซเคิล ราชบุรี
ชี้ 2 ช่องโหว่โรงงานรีไซเคิล ราชบุรี ชาวบ้านชนะคดี แต่ไม่ได้รับความเป็นธรรม
นักกฎหมายสิ่งแวดล้อมชี้ช่องความไม่เป็นธรรม 2 ประเด็น ต่อผู้ได้รับผลกระทบจากโรงงานรีไซเคิล ราชบุรี ล่าสุดโรงงานยอมขูดหน้าดินออกไปกำจัด 60 ตัน หลังถูกพบแอบใช้เครื่องจักร
ความคืบหน้าหลังชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากโรงงานแว็กซ์ กาเบจ รีไซเคิล ที่ ต.น้ำพุ อ.เมือง จ.ราชบุรี ไปบันทึกภาพหลักฐานสำคัญเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 พบว่าโรงงาน แทงมวยพักยก แอบลักลอบนำรถแบ็คโฮเข้ามาทำกิจกรรมบางอย่างในพื้นที่ที่ถูกไฟไหม้ ทั้งที่ถูกสั่งห้ามเด็ดขาด หลังโรงงานแพ้คดีความ จนมีคำสั่งให้ต้องนำของเสียอันตรายทั้งหมดออกไปกำจัดอย่างถูกต้องเท่านั้น โดยการเข้าสำรวจพื้นที่ในวันที่พบการลักลอบใช้แบ็คโอ ยังพบร่องรอยกากของเสียอันตรายรั่วไหลอยู่ในบริเวณดังกล่าวด้วย
จากเหตุการณ์นี้ นายชำนัญ ศิริรักษ์ ทนายความของกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่งช่วยให้ชาวบ้านชนะคดีในรูปแบบการฟ้องคดีแบบกลุ่มในคดีด้านสิ่งแวเล้อมเป็นคดีแรกในประเทศไทย ชี้ให้เห็นว่า บทเรียนจากการต่อสู้คดีกับบริษัท แวกซ์ กาเบจ ทำให้เห็นช่องโหว่ทางกฎหมาย 2 ประเด็นใหญ่ ที่ทำให้ผู้ได้รับผลกระทบยังคงไม่ได้รับความเป็นธรรม แม้จะชนะคดีแล้วก็ตาม
ประเด็นแรก ทนายชำนัญ ระบุถึง หลักเกณฑ์การประเมินความเสียหายของผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่งในข้อกฎหมายไปใช้หลักเกณฑ์ในการประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์แบบเดียวกับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ซึ่งเขามองว่า ทำให้ผู้ได้รับผลกระทบจะได้รับการชดเชยเยียวยาน้อยกว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงมาก โดยยกตัวอย่างกรณีของผู้ฟ้องรายหนึ่ง คือ นายธนู งามยิ่งยวด ซึ่งเป็นเจ้าของสวนลำไยกว่า 100 ไร่ เคยทำกิจการลำไยส่งออกต่างประเทศด้วย แต่ไม่สามารถประกอบอาชีพต่อได้เลย เนื่องจากแหล่งน้ำในพื้นที่ถูกสารเคมีปนเปื้อนไปทั้งหมด จนต้องยุติอาชีพ และยังไม่รู้ว่าจะต้องรับผลกระทบต่อเนื่องไปอีกนานแค่ไหน จึงเรียกร้องค่าเสียหายไปประมาณ 16 ล้านบาท แต่ถูกตัดสินให้ได้รับค่าชดเชยเพียงประมาณ 6 แสนบาทเท่านั้น เพราะใช้หลักเกณฑ์พิจารณาความเสียหายตามเกณฑ์การชดเชยผลกระทบจาก “ภัยแล้ง” ทั้งที่เหตุภัยแล้ง เป็นภัยธรรมชาติ และสามารถฟื้นฟูได้ง่ายกว่ากันมาก ส่วนผลกระทบจากการปนเปื้อนสารเคมียังไม่มีแนวทางจะฟื้นฟูทั้งดินและแหล่งน้ำที่ชาวบ้านต้องใช้ทุกวันด้วยซ้ำ